เมนู

[ 144 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท
อย่างไร ภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยจักษุ ภิกษุนั้นมีจิตไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์
แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบ ก็อยู่สบาย
จิตของภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความ
ไม่ประมาทแท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปใน
รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ เมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่
แส่ไปในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุมีจิตไม่แส่ไปแล้ว
ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ
ภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว ก็อยู่สบาย จิตของภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิต
ตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้น
ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ด้วยประกาวฉะนี้.
จบ ปมาทวิหารีสูตรที่ 4

อรรถกถาปมาทวิหารีสูตรที่ 4


ในปมาทวิหารีสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อสํวุตสฺส ได้แก่ ไม่ปิด มิใช่ปิดแล้วสำรวมแล้วตั้งไว้.
บทว่า พฺยาสิจฺจติ ได้แก่ ย่อมซึมซาบ คือ ชุ่มด้วยกิเลสเป็นไปอยู่.
บทว่า ปามุชฺชํ ได้แก่ ปีติมีกำลังอ่อน. บทว่า ปีติ ได้แก่ ปีติ มีกำลังแรง

บทว่า ปสฺสทฺธิ ได้แก่ ความระงับความกระวนกระวาย. บทว่า ธมฺมา น
ปาตุภวนฺติ
ได้แก่ ธรรม คือ สมถ และ วิปัสสนา ย่อมไม่เกิดขึ้น
ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถามจำแนกบุคคล จึงแสดง
ถึงบุคคล โดยธรรมาธิษฐาน.
จบ อรรถกถาปมาทวิหารีสูตรที่ 4

5. สังวรสูตร


ว่าด้วยการสำรวมและไม่สำรวม


[145] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสังวรและอสังวรแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสังวรมีอย่างไร
รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก
อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดีสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น
ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด
มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี
สรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อม
จากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นความเสื่อม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวรมีด้วยประการฉะนี้.